เมนู

อรรถกถารูปังกัมมันติกถา



ว่าด้วยคำว่า รูปเป็นกรรม



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องรูปเป็นกรรม (กรรมคือการกระทำ). ในเรื่องนั้น
ชนเหล่านั้นมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายมหิสาสกะและสมิติยะทั้งหลาย
ว่า กายวิญญัติรูปและรูปและวจีวิญญัตติรูปนั่นเทียว ชื่อว่ากายกรรมและ
วจีกรรม ก็รูปนั้นมีกุศลเป็นสมุฏฐานย่อมเป็นกุศล รูปนั้นมีอกุศลเป็น
สมุฏฐานก็ย่อมเป็นอกุศล ดังนั้น คำถามของสกวาทีว่า กายกรรมที่
ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิตเป็นรูป เป็นกุศลหรือ
ดังนี้ หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบ
รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที เพื่อท้วงปรวาทีนั้นด้วยคำว่า
ถ้ารูปนั้นเป็นกุศลไซร้ รูปนั้นก็พึงมีอารมณ์ได้ ดังนี้ จึงเริ่มคำว่า รูป
เป็นธรรมมีอารมณ์หรือ
เป็นต้น.
ในปัญหานั้น คำว่า ความปรารถนา คือปตฺถนา ความตั้งใจ คือปณิธิ
นี้ เป็นไวพจน์ คือเป็นคำแทนชื่อกัน ของความจงใจ คือเจตนา นั่นแหละ.
จริงอยู่เมื่อนึกถึงกุศล เจตนานั่นแหละ ท่านเรียกว่า ความปรารถนา
และเรียกว่า ความตั้งใจ เพราะตั้งไว้ด้วยอำนาจแห่งความนึกถึง. อนึ่ง
ในข้อว่า เวทนา สัญญา เจตนา สัทธา เป็นต้น ที่ตั้งขึ้นด้วยกุศลจิต
ข้างหน้า คำว่า เจตนาคือความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจ ย่อม
มีแก่เวทนาเป็นต้น ย่อมไม่มีแก่เจตนา. ถามว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า
เพราะความไม่มีเจตนาทั้ง 2 ดวงรวมเป็นดวงเดียวกัน. อนึ่ง บัณฑิต
พึงทราบแบบแผนอย่างนี้ เพราะความที่เจตนานั้นเป็นธรรมชาติตกไป
สู่กระแส.